รับฟังและชมรายการ ETV.
โดยท่านเลขาธิการ กศน. เรื่อง ยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน 2559
วันที่ 30 พ.ย. 58
ณ ห้องประชุมกศน.อำเภอเมืองลำปาง
ท่านเลขาธิการกศน. นายสุรพงษ์ จำจด ได้ชี้แจงยุทธศาสตร์และจุดเน้นการดำเนินงาน 2559
ให้ใช้กศน.ตำบล เป็นฐานในการทำงาน นำปัญหาชุมชน สภาพปัญหาสังคมเลื่อมล้ำ คุณภาพชีวิตต่ำ มาจัดการศึกษา โดยการยกระดับการศึกษาของคนไทยให้สูงขึ้น ให้คนไทยรักการอ่าน พอเพียง คิดเป็น มีจิตสาธารณะ แสวงหาความรู้ โดยงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย การใช้หลักปรัชญา คิดเป็น ในการทำงาน รู้จักการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจทางวิทยาศาสตร์ รวบรวมข้อมูลมาวิเคราะห์ ตัดสินใจ แล้วนำมาปฎิบัติ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หัวใจต้องการให้คนรู้จักการใช้ชีวิตพึ่งตัวเอง โดยหลักการใช้ปัจจัยสี่ การใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ การเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย 2 ส่วน
1.การศึกษานอกระบบ แบ่งออกเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาต่อเนื่อง
การศึกษาขั้นพื้นฐาน คือการยกระดับการศึกษาให้กับประชาชน ส่งเสริมผู้ไม่รู้หนังสือ ระดับประถม ม.ต้น ม.ปลาย ปวช. เป็นการเรียนรู้ด้วยการพบกลุ่ม ทางไกล ตนเอง เทียบระดับ
การศึกษาต่อเนื่อง ได้แก่ พัฒนาอาชีพ พัฒนาทักษะชีวิต พัฒนาสังคมและชุมชน การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม เช่น ภูมิปัญญา บวก เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยการจัดการศึกษาต่อเนื่อง 1.กลุ่มสนใจ (หลักสูตรไม่เกิน 30 ชั่วโมง) 2.หลักสูตรระยะสั้น (ชั้นเรียนวิชาชีพระยะสั้น 30 ชั่วโมงขึ้นไป ไม่เกิน 100 ชั่วโมง) 3.ฝึกอบรม (รอก่อน)
2.การศึกษาตามอัธยาศัย (ไม่มีหลักสูตร)
การดำเนินงานตามกลไกแต่ละระดับ
ระดับครอบครัว โดยการจะไปขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่มีความสำเร็จของแต่ละ ครอบครัว ให้แสวงหาและขอความร่วมมือและจัดตั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้
ระดับหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน จะเป็นแหล่งที่
ระดับตำบล กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล
ระดับอำเภอ กศน.อำเภอ ศูนย์วิทย์ฯ ศูนย์ฝึกฯ
ระดับจังหวัด สถาบันกศน.ภาค สนง.กศน.จังหวัด
สำนัก กลุ่ม ศูนย์ส่วนกลาง
เป็นกลไก เชื่อมและประสานในการทำงาน
กลไกที่ 2 การบริหารจัดการ PDCA
การวางแผน (P) ฐานข้อมูลระดับจุลภาค มี 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
และแผนและผลการปฎิบัติการประจำปี
การลงมือปฎิบัติการ (D) การมีส่วนร่วม หรือ ธรรมาธิบาล คำนึงถึงความคุ้มค่าของการทำงาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ กฎหมายระเบียบ คุณธรรม ถูกขั้นตอน เช่น การทำงานการศึกษาต่อเนื่อง ต้องมีหลักสูตร
การตรวจสอบติดตามและประเมินผล (C) โดยจะใช้ตัวชี้วัดในการประเมินของครูกศน.ตำบล พนักงานราชการ ครูอาสาสมัครฯ ครูปวช. จะใช้ตัวชี้วัดของแต่ละบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างตัวชี้วัด สามารถทำงานได้ตามแผนงานบรรลุตามเป้าหมาย
พัฒนาและปรับปรุง (A) เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา จะได้ผลที่สำเร็จและตัวที่เป็นอุปสรรค นำไปพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป
ระดับครอบครัว โดยการจะไปขอความร่วมมือในการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่มีความสำเร็จของแต่ละ ครอบครัว ให้แสวงหาและขอความร่วมมือและจัดตั้งเป็นแหล่งการเรียนรู้
ระดับหมู่บ้าน ศูนย์การเรียนชุมชน จะเป็นแหล่งที่
ระดับตำบล กศน.ตำบล เป็นศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบล
ระดับอำเภอ กศน.อำเภอ ศูนย์วิทย์ฯ ศูนย์ฝึกฯ
ระดับจังหวัด สถาบันกศน.ภาค สนง.กศน.จังหวัด
สำนัก กลุ่ม ศูนย์ส่วนกลาง
เป็นกลไก เชื่อมและประสานในการทำงาน
กลไกที่ 2 การบริหารจัดการ PDCA
การวางแผน (P) ฐานข้อมูลระดับจุลภาค มี 3 ส่วน ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐาน ข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย
และแผนและผลการปฎิบัติการประจำปี
การลงมือปฎิบัติการ (D) การมีส่วนร่วม หรือ ธรรมาธิบาล คำนึงถึงความคุ้มค่าของการทำงาน โปร่งใส ตรวจสอบได้ กฎหมายระเบียบ คุณธรรม ถูกขั้นตอน เช่น การทำงานการศึกษาต่อเนื่อง ต้องมีหลักสูตร
การตรวจสอบติดตามและประเมินผล (C) โดยจะใช้ตัวชี้วัดในการประเมินของครูกศน.ตำบล พนักงานราชการ ครูอาสาสมัครฯ ครูปวช. จะใช้ตัวชี้วัดของแต่ละบทบาทหน้าที่ไม่เหมือนกัน ยกตัวอย่างตัวชี้วัด สามารถทำงานได้ตามแผนงานบรรลุตามเป้าหมาย
พัฒนาและปรับปรุง (A) เป็นการประเมินเพื่อการพัฒนา จะได้ผลที่สำเร็จและตัวที่เป็นอุปสรรค นำไปพัฒนาและปรับปรุงในครั้งต่อไป
ต่อมา ผู้อำนวยการดร.ณราวัลย์ นันต๊ะภูมิ ประชุมสร้างความเข้าใจการจัดทำแผนในยุทธศาสตร์ที่ 6 และงานการศึกษาต่อเนื่อง ครูกศน.ตำบลแก้ไขข้อมูลให้ตรงกัน.....งงงน่าดู.........พร้อมให้กัวหน้างานที่รับผิดชอบตรวจสอบการใช้จ่ายเงินให้ตรงตามไตรมาส1-2 ที่ได้รับจัดสรร ของครูกศน.ตำบลให้ถูกต้องก่อนคีย์ขั้นระบบ............
ช่วงบ่าย
คีย์ข้อมูลภาพรวมของกศน.อำเภอเมืองลำปาง ขั้นระบบ http://202.29.172.133/DMIS ปรากฎว่าระบบล่ม แต่ก็พยายาม...ไม่สำเร็จ....แต่แจ้งประสานงานแผนงานและโครงการของสำนักงานกศน.จังหวัด เรื่องการ คีย์ข้อมูลของกศน.อำเภอเมืองลำปาง.......
นำนโยบายสู่การปฏิบัติได้เลยคะ
ตอบลบ